ข่าวประชาสัมพันธ์

กิจกรรมการวิเคราะห์คุณค่าทางอาหารในปลาแผ่น กุนเชียงปลา ปลายอ จ๊อปลา

วันที่ 14 พ.ค. 2565 อ.ผุสดี ภุมรา รองคณบดี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พร้อมด้วยทีมคณาจารย์วิศวกร​สังคม​ คณะวิทยาศา​สตร์และ​เทคโนโลยี​ ประกอบด้วย อ.วิยา​รัตน์​ กุมุทนาถ ประธานสาขาวิชา​เคมี ดร.กฤษณะ​ ช่องศรี รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัย​และ​พัฒนา อ.สุนทรีย์ ธรรมสุวรรณ อ.นวลปราง แสงอุไร สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ อ.สรรเพชญ​ บรรลือวงศ์ อ.อภิชา เชี่ยวเวช อาจารย์​ประจำสาขาวิชา​การอาหารและธุรกิจบริการ ​นางสาวส่งศรี สินสมใจ นักวิทยาศาสตร์​ และนักศึกษาทีมวิศวกรสังคม ได้ดำเนินโครงการวิศวกร​สังคมวิทยา​ศาสตร์​พัฒนาท้องถิ่น กิจกรรมการวิเคราะห์คุณค่าทางอาหารในปลาแผ่น กุนเชียงปลา ปลายอ และจ๊อปลา กิจกรรมการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ และกิจกรรมการตลาดออนไลน์ โดยผู้เข้าร่วมโครงการ ประกอบด้วย ผู้นำชุมชน และประชาชน รวมจำนวน 40 คน ณ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มมิตรสัมพันธ์ หมู่ 6 บ้านหัวกระพี้ ต.บ้านซ่อง อ.พนมสารคาม​ จ.ฉะเชิงเทรา​

คณะวิทยาการจัดการ จัดกิจกรรมพัฒนาและยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนบ้านวังควาย

วันที่ 11 พฤษภาคม 2565 สาขาวิชาการตลาด คณะวิทยาการจัดการ จัดกิจกรรมพัฒนาและยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนบ้านวังควาย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการยกระดับเศรษฐกิจฐานรากเชิงสร้างสรรค์และพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนด้วยนวัตกรรมสู่ความยั่งยืน เพื่อระดมความคิดเห็นและอภิปรายกลุ่ม เรื่อง การพัฒนาและยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนบ้านวังควาย ณ ศาลาประชมคม หมู่ 5 บ้านวังควาย ตำบลคลองเขื่อน อำเภอคลองเขื่อน จังหวัดฉะเชิงเทรา

เก็บข้อมูลตำบลท่าพลับ เพื่อออกแบบแผนที่ทางวัฒนธรรมและพัฒนาระบบข้อมูลทุนทางวัฒนธรรมอำเภอบ้านโพธิ์

วันที่ 10 พฤษภาคม 2565 อาจารย์ ดร.จินดา เนื่องจำนงค์ ผู้อำนวยการศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรมและท้องถิ่น (ที่ปรึกษาโครงการวิจัย เรื่อง “แม่น้ำบางปะกง : ทุนวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนาตามแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์) ผู้ช่วยศาสตราจารย์อารียา บุญทวี รองผู้อำนวยการฯ พร้อมด้วยบุคลากร ร่วมกับคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ลงพื้นที่เก็บข้อมูลตำบลท่าพลับ เพื่อออกแบบแผนที่ทางวัฒนธรรมและพัฒนาระบบข้อมูลทุนทางวัฒนธรรม อำเภอบ้านโพธิ์ ณ ตำบลท่าพลับ อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา

ต้อนรับและมอบเกียรติบัตรให้แก่ผู้เข้าร่วมประชุมสัมมนาเพื่อพัฒนาหลักสูตรแผนงานวิจัย

วันที่ 17 พ.ค. 65 เวลา 09.00 น. รองศาสตราจารย์ ดร.ดวงพร ภู่ผะกา อธิการบดี กล่าวต้อนรับและมอบเกียรติบัตรให้แก่ผู้เข้าร่วมประชุมสัมมนาเพื่อพัฒนาหลักสูตรแผนงานวิจัย เรื่อง การพัฒนาและยกระดับผลิตผลทางการเกษตรและอาหารแปรรูป สู่นวัตกรรมใหม่ประจำท้องถิ่นของจังหวัดฉะเชิงเทราเพื่อรองรับ EEC แผนงานวิจัยย่อยที่ 1 : การพัฒนาหลักสูตรระยะสั้นเพื่อเพิ่มคุณวุฒิผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ OTOP แบบครบวงจรด้วยแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์เพื่อรองรับการเติบโตของจังหวัดฉะเชิงเทรา ณ ห้องการะเกด มหาวิทยาลัยราชภัฎราชนครินทร์

ศึกษาดูงานการขับเคลื่อนวิศวกรสังคมและแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานด้านกิจการนักศึกษา

วันที่ 9 พ.ค. 2565 เวลา 13.00 น. อาจารย์ ดร.ณัฐปคัลภ์ ญาณมโนวิศิษฏ์ รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษา ศิษย์เก่าสัมพันธ์และหารายได้ พร้อมด้วยรองคณบดีกิจการนักศึกษา ผู้อำนวยการกองพัฒนานักศึกษา บุคลากรและนักศึกษาวิศวกรสังคม มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ เข้าศึกษาดูงานการขับเคลื่อนวิศวกรสังคม และแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานด้านกิจการนักศึกษา ณ ห้องประชุมเอกศักดิ์บุตรลับ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี โดยได้รับเกียรติจากอาจารย์ดร.เมธาวิน สาระยาน ผู้ช่วยอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีบุรี กล่าวให้การต้อนรับ พร้อมทั้งเดินทางไปศึกษาดูงาน ณ ศูนย์วิศวกรสังคม (เกษตรพอเพียง)วิทยาเขตโป่งสลอด โดย มีนายกิตติภพ รักษาราษฎร์ รักษาการผู้อำนวยการกองพัฒนานักศึกษา ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ความเป็นมา การใช้เครื่องมือวิศวกรสังคมและการดำเนินงานพื้นที่ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ เส้นทางท่องเที่ยวจากเขาวังสู่เขาแด่น

พิธีถวายพระพรชัยมงคล และลงนามถวายพระพร

วันที่ 3 พ.ค. 65 เวลา 09.00 น. รองศาสตราจารย์ ดร.ดวงพร ภู่ผะกา รักษาราชการแทนอธิการบดี นำคณะผู้บริหาร พร้อมด้วยคณาจารย์ บุคลากรและนักศึกษา ร่วมประกอบพิธีถวายพระพรชัยมงคล และลงนามถวายพระพร พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสวันฉัตรมงคล 4 พฤษภาคม 2565 ณ ห้องโชคอนันต์ ชั้น 2 อาคารเรียนรวมและอำนวยการ

กิจกรรมการสาธิตอาหารชาติพันธุ์ #ไก่ซว้า

วันที่ 26 เมษายน 2565 ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรมและท้องถิ่น จัดกิจกรรมการสาธิตอาหารชาติพันธุ์ “ไก่ซว้า” อำเภอท่าตะเกียบ ภายใต้โครงการอาหารและขนมชาติพันธุ์ สู่การส่งเสริมอัตลักษณ์ วัฒนธรรมและประเพณีท้องถิ่นในจังหวัดฉะเชิงเทรา ประจำปีงบประมาณ 2565 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริม อนุรักษ์ และพัฒนาอาหารและขนมชาติพันธุ์ตามอัตลักษณ์ วัฒนธรรมและประเพณีท้องถิ่นในจังหวัดฉะเชิงเทรา ให้เป็นที่รู้จักในวงกล้างขึ้น ส่งเสริมให้ชุมชนพึ่งพาตนเองและสามารถนำอัตลักษณ์ท้องถิ่น ประกอบเป็นอาชีพเสริมได้ รวมทั้งเชื่อมโยงมิติการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของจังหวัดฉะเชิงเทรา

โครงการพัฒนาศักยภาพอาจารย์และนักศึกษาสาขาวิชาหลักสูตรและการสอน

วันที่ 26-28 เม.ย. 2565 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พอเจตน์ ธรรมศิริขวัญ ประธานหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน พร้อมด้วยอาจารย์ประจำหลักสูตรและนักศึกษา ป.โท รุ่น 63-64 จัดโครงการพัฒนาศักยภาพอาจารย์และนักศึกษาสาขาวิชาหลักสูตรและการสอนเพื่อความเป็นผู้นำทางด้านวิชาการ:สัมมนาวิทยานิพนธ์ด้านหลักสูตรและการสอนร่วมกับเครือข่าย ศึกษาดูงานด้านการบริหารการจัดการหลักสูตร การจัดการเรียนการสอน การนำหลักสูตรไปใช้ในสถานศึกษา ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการพัฒนาวิชาชีพ สร้างเครือข่ายทางวิชาการ สู่การสัมมนาวิทยานิพนธ์ด้านหลักสูตรและการสอน ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด และ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

นิทรรศการเทศกาลศิลปะเมืองแปดริ้วครั้งที่6

วันที่ 24 เมษายน 2565 เวลา 14.00 น. อาจารย์ ดร.วรี เรืองสุข คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ อาจารย์ ดร.จินดา เนื่องจำนงค์ ผู้อำนวยการศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรมและท้องถิ่น พร้อมด้วยประธานสาขา คณาจารย์และนักศึกษาสาขาวิชาทัศนศิลป์และมีเดียอาร์ต คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ร่วมให้การต้อนรับ นายพูลทรัพย์ สมบูรณ์ปัญญา รองผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา ประธานในพิธีเปิดนิทรรศการ “เทศกาลศิลปะเมืองแปดริ้ว ครั้งที่ 6” ซึ่งจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 23 เมษายน – 1 พฤษภาคม 2565 ณ ลานกิจกรรม ชั้น 1 (ฝั่งร้าน Swensen’s) ศูนย์การค้าโรบินสัน ไลฟ์สไตล์ ฉะเชิงเทรา

โครงการอบรม หลักสูตร “สุขภาพดีวิถีไทย และสมุนไพรเพื่อการใช้ประโยชน์”

วันที่ 22 เม.ย. 65 เวลา 09.30 น. อาจารย์ ดร.ณัฐปคัลภ์ ญาณมโนวิศิษฏ์ รองอธิการบดี เป็นประธานกล่าวเปิดโครงการอบรม หลักสูตร “สุขภาพดีวิถีไทย และสมุนไพรเพื่อการใช้ประโยชน์” ซึ่งสถาบันเศรษฐกิจพอเพียง จัดขึ้นโดย ในระหว่างวันที่ 22-24 เมษายน 2565 ณ สถาบันเศรษฐกิจพอเพียง มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ บางคล้า ต.หัวไทร อ.บางคล้า จ.ฉะเชิงเทรา อาจารย์อภิวัฒน์ วงศ์ณรัตน์ ผู้อำนวยการสถาบันเศรษฐกิจพอเพียง กล่าวว่า โครงการดังกล่าวจัดขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้ ความเข้าใจ หลักการดูแลสุขภาพตนเอง ตามแบบวิถีไทย รวมไปถึงเพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้รับการปลูกฝังให้มีคุณธรรม จริยธรรม มีทักษะชีวิต จากการเรียนรู้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตลอดจนเพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอพียง และหลักการดูแลสุขภาพตนเองไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในส่วนของรูปแบบของการจัดอบรมประกอบไปด้วย การบรรยาย การลงมือปฏิบัติ อาทิเช่น การทำลูกประคบ การนวด การนำสมุนไพรมาใช้เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ซึ่งการจัดอบรมในครั้งนี้ได้รับความสนใจจากประชาชนทั่วไป จากทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทย โดยสมัครผ่านเวปไซต์ของสถาบันเศรษฐกิจพอเพียง จำนวนทั้งสิ้น …

โครงการอบรม หลักสูตร “สุขภาพดีวิถีไทย และสมุนไพรเพื่อการใช้ประโยชน์” Read More »