ข่าวประชาสัมพันธ์

โครงการส่งเสริมและพัฒนาสินค้าเกษตรชีวภาพ(สมุนไพร) จังหวัดฉะเชิงเทรา

วันที่ 13 มิ.ย. 66 เวลา 09.30-16.00 น. รองศาสตราจารย์ ดร.ดวงพร ภู่ผะกา รักษาราชการแทนอธิการบดี มอบหมายให้ สถาบันวิจัยและพัฒนา เข้าร่วมโครงการส่งเสริมและพัฒนาสินค้าเกษตรชีวภาพ(สมุนไพร) จังหวัดฉะเชิงเทรา เพื่อจัดเวทีวิเคราะห์พื้นที่ Upstream และศักยภาพของเกษตร ณ วิสาหกิจชุมชนเกษตรผสมผสานบ้านบอระเพ็ด ตำบลแปลงยาว อำเภอแปลงยาว จังหวัดฉะเชิงเทรา

สอบข้อเขียนระดับบัณฑิตศึกษา ภาคพิเศษ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566

วันที่  11 มิ.ย. 66 เวลา 08.30 น. มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ ได้ทำการสอบข้อเขียนระดับบัณฑิตศึกษา ภาคพิเศษ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน และสาขาวิชาการบริหารการศึกษา โดยการสอบข้อเขียนวิชาความรู้เฉพาะสาขา และวิชาความรู้พื้นฐานภาษาอังกฤษ ณ ห้องโชคอนันต์ ชั้น 2 อาคารเรียนรวมและอำนวยการ

กิจกรรมการเรียนรู้ การทำผ้าบาติก ลายเอกลักษณ์บ้านอ่างเตย

วันที่ 8 มิถุนายน 2566 อาจารย์ ดร.จินดา เนื่องจำนงค์ ผู้อำนวยการศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรมและท้องถิ่น พร้อมด้วยอาจารย์โยธิน จี้กังวาฬ รองผู้อำนวยการฯ นายณัฐปนนท์ สิงห์ยศ นักวิชาการศึกษา นางสาวนวลลออ อนุสิทธิ์ นักวิชาการช่างศิลป์ และนางสิริญญา รักจันทร์ นักประชาสัมพันธ์ ร่วมจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การทำผ้าบาติก ลายเอกลักษณ์บ้านอ่างเตย และการทำผ้ามัดย้อมด้วยสีธรรมชาติ ภายใต้โครงการยกระดับและสร้างมูลค่าเพิ่มผ้าไทยบ้านอ่างเตย อำเภอท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา สู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์ผ้าไทย เพื่อนำไปสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ และเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าไหมสู่ Marketplace ณ โรงเรียนบ้านอ่างเตย อำเภอท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา

รักษาราชการแทนอธิการบดี เป็นวิทยากรบรรยาย ในหัวข้อ “บทบาทของมหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์กับการพัฒนาจังหวัดฉะเชิงเทรา”

วันที่  9 มิ.ย. 66 เวลา 10.30 น. รองศาสตราจารย์ ดร.ดวงพร ภู่ผะกา รักษาราชการแทนอธิการบดี เป็นวิทยากรบรรยาย ในหัวข้อ “บทบาทของมหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์กับการพัฒนาจังหวัดฉะเชิงเทรา” ให้กับคณะศึกษาดูงานส่วนกลาง ครั้งที่ 3 การอบรม หลักสูตร “ผู้บริหารกระบวนการยุติธรรมระดับสูง” รุ่นที่ 27 สถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม โดยได้รับเกียรติจากนายขจรเกียรติ รักพานิชมณี ผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา กล่าวต้อนรับ พร้อมกันนี้นายจิตรกร เผด็จศึก ประธานหอการค้าจังหวัดฉะเชิงเทรา ยังได้เป็นวิทยากร บบรยายในหัวข้อ “ประวัติความเป็นมาของจังหวัดฉะเชิงเทรา และบทบาทของหอการค้าจังหวัดฉะเชิงเทรา ต่อการพัฒนาจังหวัดฉะเชิงเทรา” ให้แก่คณะศึกษาดูงานได้รับฟัง ณ ห้องเจ้าพระยา ชั้น 3 อาคารบัณฑิตศึกษา

โครงการอบรมตัดแปลงรถจักรยานต์ยนต์ไฟฟ้า เพื่อรองรับธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้า

วันที่ 9 มิถุนายน 2566 อาจารย์เมธี พรมศิลา คณบดีคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม เป็นประธานกล่าวเปิด การบริการวิชาการ ให้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาเปร็งวิสุทธาธิบดี ในโครงการอบรมตัดแปลงรถจักรยานต์ยนต์ไฟฟ้า เพื่อรองรับธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้า พัฒนาความรู้ทักษะต้านเทคโนโลยีจักรยานยนต์ไฟฟ้า วิทยากรโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์.ดร นรินทร์ กุลนภาดล ประธานสาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกลยนต์ยานยนต์ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชัชวาล นิมโรธรรม ณ ชั้น 3 ห้องประชุมพระวิษณุกรรม อาคาร 10 คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎราชนครินทร์

อบรมเชิงปฏิบัติการด้านวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ประยุกต์เสริมทักษะการปฏิบัติ

อบรมเชิงปฏิบัติการด้านวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ประยุกต์เสริมทักษะการปฏิบัติการทดลองให้แก่นักเรียนในเขตภาคกลางและภาคตะวันออก เพื่อต่อยอดเป็นหลักสูตรหารายได้ให้กับมหาวิทยาลัย หลักสูตร การประยุกต์ใช้ Iot สำหรับเกษตรอัจริยะ Smart Farmer

โครงการส่งเสริมและพัฒนาสินค้าเกษตรชีวภาพ(สมุนไพร) จังหวัดฉะเชิงเทรา

วันที 8 มิ.ย 66 เวลา 09.30-16.30 น. รองศาสตราจารย์ ดร.ดวงพร ภู่ผะกา รักษาราชการแทนอธิการบดี มอบหมายให้ อาจารย์ ดร.นรากร ศรีสุข ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา เป็นวิทยากร โครงการส่งเสริมและพัฒนาสินค้าเกษตรชีวภาพ(สมุนไพร) จังหวัดฉะเชิงเทรา เพื่อจัดเวทีวิเคราะห์พื้นที่ Upstream และศักยภาพของเกษตร ณ วิสาหกิจชุมชนเกษตรผสมผสานบ้านหนองกะพ้อ ตำบลบ้านซ่อง อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา

อบรมเชิงปฏิบัติการด้านวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ประยุกต์เสริมทักษะการปฏิบัติการทดลอง

วันที่ 7 มิถุนายน 2566 อาจารย์สุรีย์พร ธรรมิกพงษ์ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้มอบหมายให้ทีมวิทยากรจากสาขาวิชาเคมี นำโดยอาจารย์ ดร.ณัฐฐาพร สามารถ อาจารย์ ดร.ศํกดิ์ชัย หงษ์ทอง อาจารย์ภควรรณ คงจันตรี เจ้าหน้าที่และนักศึกษา เป็นวิทยากร อบรมเชิงปฏิบัติการด้านวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ประยุกต์เสริมทักษะการปฏิบัติการทดลองให้แก่นักเรียนในเขตภาคกลางและภาคตะวันออก เพื่อต่อยอดเป็นหลักสูตรหารายได้ให้กับมหาวิทยาลัย หลักสูตร เคมี 2 (โครมาโทกราฟิ/ทินเลเยอร์โครมาโทกราฟิ/เปเปอร์โครมาโทกราฟิ/คอลัมน์โครมาโทกราฟิ) ซึ่งเป็นกิจกรรมในโครงการยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น โดยผู้เข้าร่วมอบรม ประกอบด้วย นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนต่างๆในเขตภาคกลางและภาคตะวันออก รวมจำนวน 30 คน

นั่งรถไฟKIHA183ปลูกโกงกางที่บางปะกง

วันที่ 4 มิถุนายน 2566 รองศาสตราจารย์ ดร.ดวงพร ภู่ผะกา รักษาราชการแทนอธิการบดี มอบหมายให้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. พรทิพย์ อ้นเกษม ผู้ช่วยอธิการบดี เข้าร่วมให้การต้อนรับนักท่องเที่ยว จำนวน 200 คน/วัน ที่เดินทางมากับรถไฟ KIHA 183 เป็นกิจกรรมที่การรถไฟแห่งประเทศไทยจัดขึ้น ในชื่อทริป “นั่งรถไฟ KIHA 183 ปลูกโกงกาง ที่บางปะกง” เส้นทางกรุงเทพ-ฉะเชิงเทรา โดยเดินทางมากับขบวนรถไฟ KIHA 183 จากสถานีหัวลำโพง – สถานีฉะเชิงเทรา โดยรถไฟ KIHA 183 นำนักท่องเที่ยวชมทิวทัศน์กลางสะพานข้ามแม่น้ำบางปะกง และถึงสถานีฉะเชิงเทรา (เวลา 09.40 น.) จากนั้นเดินทางชมวัดประศาสน์โสภณ -ทำบุญถวายสังฆทาน และแวะชมสวนบ้านเมล่อน อ.บ้านโพธิ์ จากนัั้นจัดกิจกรรมปลูกป่าโกงกาง กิจกรรมเพาะต้นกล้าโกงกาง ด้วยตระกร้าใบจาก และกิจกรรมปล่อย 2 ได้แสน (ปล่อยปูแสม) ณ …

นั่งรถไฟKIHA183ปลูกโกงกางที่บางปะกง Read More »

รถไฟKIHA183มหัศจรรย์แห่งสายน้ำแปดริ้ว

เมื่อวันที่ 27-28 พฤษภาคม 2566 รองศาสตราจารย์ ดร.ดวงพร ภู่ผะกา รักษาราชการแทนอธิการบดี มอบหมายให้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. พรทิพย์ อ้นเกษม ผู้ช่วยอธิการบดี เข้าร่วมให้การต้อนรับนักท่องเที่ยว จำนวน 200 คน/วัน ที่เดินทางมากับรถไฟ KIHA 183 ซึ่งเป็นกิจกรรมที่การรถไฟแห่งประเทศไทยจัดขึ้น ในชื่อทริป “นั่งรถไฟ KIHA 183 มหัศจรรย์แห่งสายน้ำ@แปดริ้ว” เส้นทางกรุงเทพ-ฉะเชิงเทรา โดยเดินทางมากับขบวนรถไฟ KIHA 183 จากสถานีหัวลำโพง – สถานีฉะเชิงเทรา โดยรถไฟ KIHA 183 นำนักท่องเที่ยวชมทิวทัศน์กลางสะพานข้ามแม่น้ำบางปะกง และถึงสถานีฉะเชิงเทรา (เวลา 09.40 น.) จากนั้นเดินทางชมวัดบางกระเจ็ดและทำบุญถวายสังฆทาน และจัดกิจกรรมการดูแลสุขภาพ อาทิ สปาเท้า รมตา ผ้ามันย้อม ณ เดวา รีสอร์ท นั่งเรือรอบเกาะลัด และเยี่ยมชมสถานที่สำคัญของอำเภอบางคล้า อาทิ วัดโพธิ์บางคล้า …

รถไฟKIHA183มหัศจรรย์แห่งสายน้ำแปดริ้ว Read More »