ประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการส่งเสริมและคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์GIจังหวัดฉะเชิงเทรา (มะพร้าวน้ำหอมบางคล้า)

วันที่ 10 มิ.ย. 65  เวลา 09.30 น. รองศาสตราจารย์ ดร.ดวงพร ภู่ผะกา อธิการบดี มอบหมายให้ อาจารย์สุรีย์พร ธรรมิกพงษ์ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สถาพร ดียิ่ง ประธานสาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตร พร้อม ด้วยคณะผู้ดำเนินงานโครงการโครงการจัดทำระบบควบคุมคุณภาพและมาตรฐานสินค้าสิ่ง บ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทย (Internal Control)สินค้ามะพร้าวน้ำหอมบางคล้า จากมหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ เข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการส่งเสริมและคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ GI จังหวัดฉะเชิงเทรา เพื่อพิจารณาและลงมติรับรองผลการตรวจประเมินเพื่อประกอบการยื่นขอ อนุญาตใช้ตราสัญลักษณ์สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ มะพร้าวน้ำหอมบางคล้า โดยมีนายเชาวเนตร ยิ้มประเสริฐ ปลัดจังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นประธานในการประชุม ณ ห้องการะเกด มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา เนื่องด้วยจังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นแหล่งปลูกมะพร้าวน้ำหอมที่มีคุณภาพ และมีชื่อเสียง ทำให้ได้รับการยอมรับจากผู้บริโภค โดยมีสายพันธุ์มะพร้าวน้ำหอมดั้งเดิมของแปดริ้วและมีพื้นที่ปลูกอุดมสมบูรณ์ เป็นน้ำกร่อย ซึ่งมีแร่ธาตุที่ช่วยให้มะพร้าวเจริญเติบโต ได้ดี มีรสชาติเป็นเอกลักษณ์จนนำสู่การขอขึ้นทะเบียนเป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ตาม ทะเบียนเลขที่ สช 63100140 โดยขอขึ้นทะเบียนเมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2551 โดยผู้ขอขึ้นทะเบียน คือ นายวรพจน์ กุศลสงเคราะห์กุล เพื่อให้สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ที่ขึ้นทะเบียนแล้วมีระบบควบคุม ตรวจสอบคุณภาพ กระบวนการผลิต และแหล่งที่มาของสินค้า รวมทั้งผู้ผลิต ผู้ประกอบการ จะได้รับอนุญาต ให้ใช้ตราสัญลักษณ์สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทย ซึ่งจะช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและ สร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน รวมทั้งเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางการค้าของสินค้าไทย ขณะเดียวกันก็จะช่วยให้สินค้า GI ของไทย สามารถสร้างเรื่องราว (Story) ที่จะบ่งบอกถึงความแตกต่างเกี่ยวกับประวัติความเป็นมา ชื่อเสียง และแหล่งผลิต ช่วยสร้าง มูลค่าเพิ่มแก่ชุมชนและอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น และต่อยอดเป็นเส้นทางท่องเที่ยวของประเทศ รวมทั้งส่งเสริมให้สินค้า GI ของไทย ได้รับมาตรฐาน สามารถส่งออกและทำตลาดได้ในสากล