มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ ร่วมกับจังหวัดฉะเชิงเทรา เทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา สภาวัฒนธรรมจังหวัดฉะเชิงเทรา และภาคีเครือข่าย จัดงานเทศกาลสายน้ำแห่งวัฒนธรรม : ความรัก ความสุข ความมั่งคั่ง และความยั่งยืน Chachoengsao Happiness & Wealthy Carnival, Smart City from Learning City“ฉะเชิงเทราเมืองแห่งการเรียนรู้สู่เมืองอัจฉริยะของคนทุกช่วงวัย” ขับเคลื่อนสู่เมืองน่าอยู่ น่าเที่ยว น่าลงทุน พัฒนาสู่เมืองอัจฉริยะ EEC
………………………………………………………………………….
วันที่ 15 กันยายน 2566 รองศาสตราจารย์ ดร.ดวงพร ภู่ผะกา รักษาราชการแทนอธิการบดี พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร คณาจารย์ บุคลากรและนักศึกษา เข้าร่วมพิธีเปิด งานเทศกาลสายน้ำแห่งวัฒนธรรม : ความรัก ความสุข ความมั่งคั่ง และความยั่งยืน Chachoengsao Happiness & Wealthy Carnival, Smart City from Learning City “ฉะเชิงเทราเมืองแห่งการเรียนรู้สู่เมืองอัจฉริยะของคนทุกช่วงวัย” โดยมีนายขจรเกียรติ รักพานิชมณี ผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นประธานในพิธี พร้อมด้วยส่วนราชการ ผู้บริหารหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ตลอดจนแขกผู้มีเกียรติ เข้าร่วมในพิธี ณ บริเวณสวนสาธารณะริมแม่น้ำบางปะกง ถนนมรุพงษ์ ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา
พร้อมกันนี้ภายในงานยังได้มีพิธีประกาศความร่วมมือและเป้าหมายร่วมของการพัฒนาเมืองแห่งการเรียนรู้สู่เมืองอัจฉริยะ โดยเครือข่ายเมืองแห่งการเรียนรู้สู่เมืองอัจฉริยะ ซึ่งประกอบไปด้วย จังหวัดฉะเชิงเทรา, เทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา, การรถไฟแห่งประเทศไทย, EEC, มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์,การขับเคลื่อนวิทยสถาน”ธชภูมิ”เพื่อการพัฒนาพื้นที่ สำนักผู้ประสานฝ่ายวิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเมืองน่าอยู่และการกระจายศูนย์กลางความเจริญ ภายใต้หน่วยงาน บพท., บริษัท อมิตา เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด , ธนาคารกรุงไทย ,สมาคมชาวฉะเชิงเทรา,มูลนิธิฉะเชิงเทราเพื่อการพัฒนา ,วัฒนธรรมจังหวัดฉะเชิงเทรา และประธานสภาวัฒนธรรม
สืบเนื่องจากจังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นเมืองที่มีแม่น้ำบางปะกงเป็นต้นกำเนิดของหลายวัฒนธรรม เชื่อมโยงวิถีชีวิตของผู้คน ก่อเกิดเป็นขนบธรรมเนียม ประเพณีต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นอาหารการกิน แหล่งท่องเที่ยว วัดวาอาราม บ่งบอกความเป็นบ้านเมืองที่มีความรุ่งเรืองทางอารยะธรรม เป็นสังคมพหุวัฒนธรรม เป็นต้นทุนที่ชาวฉะเชิงเทรา ต้องเรียนรู้ รักษา และสืบทอด ส่งต่อไปยังลูกหลาน สภาวัฒนธรรมจังหวัดฉะเชิงเทรา จึงเล็งเห็นถึงความสำคัญของการสืบสานประเพณีวัฒนธรรมที่มี ด้วยการร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ ในพื้นที่ ประกอบด้วย วัฒนธรรมจังหวัดฉะเชิงเทรา เทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา รวมถึงเครือข่ายสภาวัฒนธรรมในทุกอำเภอ และมหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาในพื้นที่ ร่วมกันขับเคลื่อนงานวัฒนธรรม ด้วยการเชื่อมโยงพหุวัฒนธรรม และความหลากหลายทางชาติพันธุ์ ผ่านการจัดงานดังกล่าว ซึ่งภายในพบกับการแสดงศิลปวัฒนธรรมไทย จีน มอญ ลาวพวน มากกว่า 30 ชุดการแสดง การสาธิตการทำอาหารจานยักษ์”หมี่ซั่วมงคล” การแสดงดนตรี RRU-Jazz นิทรรศการศิลปะ ภาพวาด และสาธิตการเขียนภาพ นิทรรศการฉะเชิงเทราเมืองแห่งการเรียนรู้ สู่การยกระดับการจัดการเชิงวัฒนธรรม และภูมิปัญญาสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน นิทรรศการยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาในจังหวัดฉะเชิงเทรา ให้เป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ด้วยระบบคลังปัญญาดิจิทัลสู่เมืองอัจฉริยะ รวมไปถึงนิทรรศการจากชุมชนต่างๆในจังหวัดฉะเชิงเทรา ชิมอาหารถิ่นของดีเมืองแปดริ้ว อาหารอร่อย ขนมหวาน กว่า 160 ร้าน พร้อมช๊อปผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน/ผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม และสินค้าอีกกว่า 1,000 รายการ โดยกำหนดจัดงาน ระหว่างวันที่ 15 – 17 กันยายน 2566 ณ บริเวณสวนสาธารณะริมแม่น้ำบางปะกง ถนนมรุพงษ์ ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา เพื่อประกาศความร่วมมือในการพัฒนาเมืองแห่งการเรียนรู้สู่เมืองอัจฉริยะของคนทุกช่วงวัย พร้อมทั้งยกระดับต้นทุนทางวัฒนธรรมและอัตลักษณ์ท้องถิ่นของจังหวัดฉะเชิงเทราสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ ด้วยมหกรรมการท่องเที่ยวชุมชนทางวัฒนธรรมวิถีบูรพา
ชมประมวลภาพงานได้ที่นี้ —-> ประมวลภาพงานเทศกาลสายน้ำแห่งวัฒนธรรม : ความรัก ความสุข ความมั่งคั่ง และความยั่งยืน